Travel, uzbekistan
Leave a Comment

QUICK GUIDE : Uzbekistan 4 เมืองอารยธรรมเส้นทางสายไหมที่ไม่ควรพลาด

NEW_หน้าปก

เคยมั้ยเวลาที่ได้ยินหรืออ่านเจอกับประเทศที่ลงท้ายกับคำว่า สถาน” แล้วรู้สึกกลัว หรือคิดว่า ประเทศเหล่านี้เนี้ย มันยังมีสงครามสู้รบกันอยู่รึเปล่า?? มันเป็นคำถามแรกที่ขึ้นมาในหัวเลย ก็ตอนที่เรากำลังหาทริปเดินทางอยู่ ซึ่งเราเองก็อยากหาประเทศที่แปลกใหม่ ที่ที่เรารู้สึกว่า อยากลองไปสักครั้ง” คำถามที่เกิดขึ้นมันเลยทำให้เรารู้สึกอยากออกไปสัมผัสกับมัน ว่าจะเป็นอย่างไร?

เริ่มต้นการเดินทาง

1

ทริปนี้เราวางแผนเดินทางกันช่วง ต้นเดือนตุลาคม ซึ่งคิดว่า อากาศคงไม่ร้อนมาก และไม่หนาวมาก ที่สำคัญขอฟ้าใสทั้งทริป ไม่มีฝนเลยจะดีมาก

เราเดินทางครั้งนี้โดยใช้บริการ สายการบินประจำชาติ Uzbekistan Airways เลือกเที่ยวบินเดินทางจากกรุงเทพตอนกลางคืน มาถึง ท่าอากาศยานนานาชาติทาชเคนต์ในตอนเช้า ถ้าให้รีวิวสายการบินนี้คร่าวๆ ก็คงจะอารมณ์คล้ายๆ สายการบินรัสเซียทั่วๆไป แอร์ตั้งใจบริการมาก อันนี้ประทับใจแม้เขาจะไม่ค่อยยิ้มเท่าไหร่ แต่ไม่ค่อยคาดหวังเรื่องแบบนี้อยู่แล้ว แต่มีสิ่งหนึ่งที่เวลาเราเดินทางโดยเครื่องบิน เราจะชอบช่วงที่เขาเสริฟอาหารสุดๆ เท่าทีสังเกตมา สายการบินนี้จะเสริฟอาหารเยอะมาก โดยส่วนตัวชอบทั้งขาไปและกลับเลยทีเดียว เที่ยวบินนี้ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 6-7 ชั่วโมง ซึ่งไม่รู้สึกนานจนเกินไป ก็ถึงประเทศอุซเบกิสถานแล้ว 

Info-Howto_Online-Check-in (2)

รู้หรือไม่? Traveloka เปิดให้บริการ Online Check-in แล้ว

ทริปนี้เราจองตั๋วสายการบินผ่านเว็บไซต์เอเจนซี่ Traveloka และได้ลองใช้บริการเช็คอินออนไลน์ในแอพลิเคชั่น โดยไม่ต้องผ่านเว็ปไซต์ของสายการบิน ซึ่งตอนนี้สามารถใช้ได้กับสายการบินไทย,ไทยสมายล์,ไทยไลอ้อนแอร์ และสายการบินของอินโดนีเซีย อย่างเช่น การูด้าแอร์ไลน์ เป็นต้น

ซึ่งสามารถทำผ่านแอพลิเคชั่น หรือหน้าเว็บได้เลย เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ https://www.traveloka.com/th-th/checkin

หากใครสนใจตามรอยการเดินทางครั้งนี้ก็สามารถเช็คราคา จองตั๋วเครื่องบินไปอุซเบกิสถาน

https://www.traveloka.com/th-th/flight

โดยข้อดีของการทำ Online Check-in ผ่านแอพลิเคชั่น Traveloka คือมีเวลาเหลือก่อนขึ้นเครื่อง และ ช่วยประหยัดเวลา สำหรับคนที่ไม่ต้องโหลดกระเป๋า ก็ไม่ต้องเสียเวลา รอบอร์ดดิ้งไทม์ได้เลย

Tashkent – Samarkand

94243326_2617741911817407_899690920029454336_o94750899_2617741841817414_4800411030352035840_o

72729236_2435793563345577_2889247899001028608_o

ในวันแรกพวกเราเดินทางมาถึงตอนเช้า เลยตั้งใจว่าจะไปอีกเมืองนึงก่อน ซึ่งอยู่ใกล้ๆ ไม่ไกลมาก ก็คือเมือง Samarkand นั้นเอง การเดินทางไปเมือง Samarkand เราใช้วิธีหารถเช่าพร้อมคนขับของทางสนามบินไปแทนรถไฟตอนเช้า 

71734065_2435793730012227_6848982328849465344_o.jpg

เพราะสะดวกและใช้เวลาพอๆกัน สามารถดูวิวข้างระหว่างเดินทางได้ชิลเลย ใช้เวลาในการเดินทาง 4 ชั่วโมง ราคาอยู่ที่ 700,000 SOM (2,300บาท)

*การแลกเงินสกุล Soums ของอุชเบ เราใช้เงินสกุล EUR แลกในสนามบินได้เลย ที่แลกจะอยู่ข้างๆ ด่านตมใกล้ห้องน้ำ

94448135_2617649228493342_3119004331232198656_o

Traditional Uzbek Meals

มื้อแรกกับอาหารอุซเบที่เมือง Samarkand ก่อนเข้าที่พัก ได้ลองเมนูยอดนิยมอย่าง Plov,Manti,Golubtsi,Samsa,Shurpa รสชาติออกกลางๆ อร่อยดีเลย ชอบทุกอย่าง ราคาไม่แพงด้วยครับอาหารที่นี่

72630235_2435967026661564_8284052810794795008_o72108320_2435967319994868_6284397646450786304_o72052598_2435967036661563_4098895806940053504_o72088734_2440295806228686_6613554843275493376_o71811400_2435967133328220_6640638743835312128_o

Registan Square. Samarkand

วันแรกที่ Registan เป็นจัตุรัสสาธารณะที่ซึ่งเคยเป็นสถานที่ที่ผู้คนมารวมตัวกันเพื่อฟังคำแถลงการณ์ของราชวงศ์ประกาศ และยังเคยใช้เป็นสถานที่ประหารชีวิต จัตุรัสแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นศูนย์กลางของ Timurid Renaissance ณ ปัจจุบัน จตุรัส Registan เป็นอีกสถานทีที่นักท่องเที่ยวและผู้คนชาวอุซเบนิยมมาเที่ยวชมกัน มีพื้นที่ให้นั่งพักผ่อน หย่อนใจ ถ่ายรูปเล่นกัน และถ้ารอจนถึงตอนค่ำตัวอาคารจะเปิดไฟ light up สีสันสวยงามมากๆครับ

EGSXAPCU8AIdrbG.jpegTF-1TF-2TF-3

Bibi-Khanym Mosque

มัสยิด Bibi-Khanym Mosque เป็นหนึ่งในอนุสรณ์สถานที่สำคัญที่สุดของเมืองซามาร์คันด์ ในศตวรรษที่ 15 เป็นหนึ่งในมัสยิดที่ใหญ่ที่สุดและงดงามที่สุดในโลกอิสลาม ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 มีเพียงซากปรักหักพังอันใหญ่หลวงที่ยังคงอยู่รอด แต่ส่วนใหญ่ของมัสยิดได้รับการบูรณะในช่วงยุคโซเวียต

72267063_2436060853318848_3783843239765737472_o71968892_2436060789985521_1704142087026376704_o81684245_10206801066461992_854785490761547776_o

คนที่นี้ส่วนมากจะเป็นแขกขาว เอเชียผสมยุโรป บางคนหน้าออกไปทางจีน หรือ ไม่ก็รัสเซีย คนที่นี้ยิ้มแย้ม และใจดี ถึงจะคุยกันไม่รู้เรื่องก็ตาม สนุกดีนะ กับสิ่งที่เจอในประเทศนี้

72526521_10206419864892191_1456814496910671872_o72922228_10206420455106946_5795953478555664384_o72273753_10206420455746962_2488153929863397376_o

ความดีงามของที่นี่คือค่าครองชีพถูกมาก อย่างไอศครีม ที่สั่งกันคืออย่างละ 15 บาทเท่านั้น (5,000 SOM) และอร่อยด้วยนะ ถ้วยใหญ่ ตัวเนื้อไอศครีมเหนียวหนึบ เข้มข้น รสชาติหวานมันมาก

71527479_2436192583305675_4522405790216093696_oShashlik Time !

มื้อเย็นต้องเคบับเนื้อกับเบียร์เย็นๆ ปิดท้ายด้วยของหวาน Baklava

Siyob Bozor

ตลาด Siyob Bozor ตอนเช้า ใกล้กับ Bibi-Khanym Mosque และ Bibi-Khanym Mausoleum เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก มีของขายเยอะแยะไปหมด เป็นสถานที่ยอดนิยมของคนท้องถิ่น และนักท่องเที่ยวต่างชาติ สามารถหาทุกอย่างได้จากที่นี่เลย

72042847_2436893469902253_6647424710558613504_o71895485_2436893566568910_6380390285775470592_o71515941_2436894139902186_8596781242316226560_o72268046_2436899273235006_6177150096866541568_o71755930_2436894726568794_1749819867378221056_o71912935_2436893839902216_6446784458627481600_o71702745_2436894593235474_8761180534433906688_o72198839_2436894639902136_4808995527515439104_o72215525_2436893703235563_157924813602553856_o72355823_2436894023235531_1423626133563244544_o71917943_2436894949902105_1235923147761385472_o

Shah-i-Zinda

ตอนกลางวันมาเดินชม Shah-i-Zinda สุสานขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บนเนินเขา อัฟราซิยาบ (Afrasiyab)
นอกกําแพงเมืองเก่า ตัวอาคารถูกประดับตกแต่งด้วยหินอ่อนแกะสลักโมเสครูปร่างต่างๆ เคลือบด้วยสีฟ้างดงามมาก

TF-9.JPG

71686182_2437038936554373_3086423302030229504_o71909625_2437039163221017_6742463102639407104_o71596835_2437038136554453_921804306477219840_o72525404_2437037876554479_1893817480724348928_o71902699_2437038453221088_8454255428363091968_o72370130_2437038303221103_6427770900401094656_o72441944_2437038693221064_3092957459115933696_o72145217_2437038486554418_4591655021103284224_o

Gur-e-Amir

Gur-e-Amir หลุมศพของอะมีร ติมูร์ (Timur) ขุนศึกเชื้อสายเติร์ก-มองโกล ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ติมูรียะฮ์ (Timurid) ซึ่งแผ่ขยายดินแดนกว้างใหญ่ในเอเชียกลาง เปอร์เซีย อนาโตเลียและบางส่วนของอินเดียในราวปลายคศว.ที่ 14-16

กูร์ อะมีร สร้างขึ้นในปี 1403 เพื่อเป็นสุสานของคนในราชวงศ์ ตั้งอยู่ในเมืองซะมัรคันด์ (Samarkand – ปัจจุบันอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน) อดีตเมืองหลวงของอาณาจักรติมูรียะฮ์ สถานที่ซึ่งติมูร์ได้นำเอาช่างฝีมือและนักปราชญ์มากมายจากดินแดนที่พิชิตมาเพื่อสร้างสรรค์อาณาจักรของเขา อาคารนี้เป็นรูปแบบศิลปะเติร์ก-เปอร์เซีย ซึ่งจะส่งอิทธิพลมายังยุคสมัยหลังต่อๆมาเช่นราชวงศ์ศอฟาวียะฮ์ (Safavid) ในเปอร์เซีย และราชวงศ์โมกุล (Mughal) ในอินเดีย (ซอฮิรุดดีน บาบูร ผู้ก่อตั้งร.โมกุลก็สืบเชื้อสายมาจากติมูร์เช่นกัน)

72292790_2437534753171458_7882961199594209280_o72213610_2437534819838118_6571756998939901952_o72302161_2437534943171439_4901723033917456384_o

72251609_2437535153171418_272460673580007424_o

How to Booking Train Ticket for Traveling in Uzbekistan ?￰

พรุ่งนี้จะออกเดินทางต่อไปยังเมือง Bukhara โดยรถไฟใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง เราจองตั๋ว Business เป็นแบบ ที่นั่งหันหน้าเข้าหากัน มีโต๊ะอยู่ตรงกลาง (ราคาคนละ 25 USD) เรื่องตั๋วเราได้จองผ่านกับเว็บ Agency เพราะได้เข้าเว็บการรถไฟของอุซเบกิสถานแลัวมีปัญหาตรงหน้าเว็บไม่มีภาษาอังกฤษเลย มีแต่ภาษารัสเซีย ทำให้ยากต่อการจองตั๋วรถไฟ เราเลยไปใช้บริการติดต่อผ่านตัวแทน นั้นคือ Advantour.com โดยให้เค้าจัดการหาตั๋วรถไฟให้ ซึ่งมีวิธีดังนี้

1. เข้าไปที่เว็บ https://www.advantour.com/uzbekistan/trains.htm
2. ไปที่ช่อง Search Trains เลือกสถานที่ต้นทางและปลายทาง พร้อมกับวันและกดค้นหา จะมีตารางเดินรถไฟ เวลา ให้เราเลือก (บางเมืองอาจไม่มีรอบทุกวัน ต้องคอยกดว่าวันไหนมีรอบรถไฟบ้าง แนะนำว่าควรมากดดูก่อนจองตั๋วเครื่องบิน)
3. เมื่อเราได้รอบรถไฟของเราแลัว เราก็กดยืนยันการจองไป จะขึ้นหน้าเว็บให้เรากรอกชื่อนามสกุล อีเมลติดต่อกลับ เมื่อเรากรอกข้อมูลเสร็จและกดส่งข้อมูลเรียบร้อยแลัว ให้รอประมาณ 1-2 วัน จะเป็นการคุยกับเอเจนซี่ผ่านอีเมลเพื่อยืนยันการจองอีกครั้ง ทางเค้าจะขอ Passport ของผู้โดยสาร เมื่อทุกอย่างผ่านเรียบร้อย จะถึงขั้นตอนจ่ายเงินเพื่อยืนยันการจอง เมื่อทางเค้าจองได้แลัว เค้าจะแจ้งให้เราทราบทันที และแนะนำให้รับตั๋วจากที่พักของเราใน อุซเบกีสถาน

วิธีการรับตั๋วรถไฟ ?

– เราใช้วิธีให้เค้าส่งไปที่พักของเรา โดยแจ้งวันเข้าพัก และ ชื่อผู้รับตั๋วรถไฟ ทางเอเจนซี่จะจัดการส่งจั๋วรถไฟให้ตามที่เราแจ้งไว้ เราก็แค่ไปถึงโรงแรมแลัวถามถึงตั๋วของเรา เค้าก็ยื่นให้ จบเรียบร้อยครับ

71654714_2437180753206858_6408529434030112768_o.jpg

Samarkand Railway Station

สถานีรถไฟซามาร์คันด์ ในตอนท้ายของศตวรรษที่ 19 เมื่ออุซเบกิสถานเป็นส่วนหนึ่งของ Turkestan ภายในจักรวรรดิรัสเซีย รถไฟถูกสร้างขึ้นทั่วเอเชียกลางเพื่อใช้ในการขนส่ง ค้าขายสินค้าทั่วเอเซียกลาง ซามาร์คันด์จึงเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้าหลักของเอเชียกลางที่สำคัญอย่างมาก เป็นอีกสถานนีรถไฟที่ตื่นตาใช้ได้เลย โครงสร้างอาคารประดับด้วยหินอ่อน พื้นหินแกรนิต มีโคมไฟเป็นแบบ Chandelier กระจกในสถานนีบางส่วนเป็น Stained Glass กระจกสี ให้สีสันที่สวยงาม เมื่อกระทบกับแสงแดด โชดดีที่มาล่วงหน้าชั่วโมงนึงเลยมีเวลาเดินถ่ายรูปเพลินมาก 555

72043970_2437588136499453_7316253849868566528_o1614151772299798_2437611423163791_6451407793353129984_o72528985_2437611729830427_6028373473410154496_o71824812_2437611523163781_572348699074625536_o72070607_2437611629830437_4687910284793217024_o

พบปะเพื่อนใหม่ระหว่างเส้นทาง Samarkand ไป Bukhara ตลอด ชั่วโมงของการอยู่บนรถไฟคือการนั่งไล่เรียงชื่อเครือญาติกัน ระหว่างฝั่งเรากับของเค้า และบอกถึงความหมาย และที่มาของชื่อนั้นๆ เป็นอีกกิจกรรมที่สนุกดีเหมือนกันนะ มีความหาเรื่องคุยมาก 555

72372936_2437959133129020_5619027042440839168_o.jpg

เออ .. ความรู้สึกของการเดินทางครั้งเก่าๆได้กลับมาอีกครั้งแลัวสินะ หลังจากไม่ได้เที่ยวแบบนี้มานานหลายปีเลย.

Uzbek Breakfast

อยู่หลายๆวันชักไม่ดีละ จะอ้วนเอา 555 อาหารเช้าของอุซเบ จะเต็มไปด้วยอาหารจานหลักซึ่งก็มีหลายอย่างเลยจะมีผสมกับอาหารเช้าสไตล์ของฝรั่งบ้างซึ่งอุดมไปด้วยแป้งและไขมัน กับขนมทานเล่น และปิดท้ายด้วยผลไม้ เครื่องดื่มก็จะเป็นชาดำร้อน สดชื่นมาก เป็นอย่างเค้าว่ากันว่า มื้ออาหารเช้าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้คุณเริ่มวันต้นใหม่ได้ดี

71776493_2438356496422617_4234397502528290816_o.jpg

bella Italia Restaurant

พักจากอาหารอุซเบบ้าง Plov ทุกมื้อไม่ไหว 5555 เลยหาร้านอาหารอิตาเลียนแถวที่พัก เจอที่นี่ดูดีที่สุดแลัว ร้านหรูหรา แต่ราคาไม่แพงเลย อย่างสเต็กเนื้อ กับ ขาแกะ ราคาแต่ละอย่างไม่เกิน 300 บาทไทย อย่างถูก อร่อยทุกอย่างเลย แนะนำร้านนี้เลย Bella Italia.

Emir’s Summer Palace in Bukhara

มาเที่ยวพระราชวังฤดูร้อนแถวชานเมืองกันบ้างดีกว่า เป็นซัมเมอร์พาเลซของประมุขคนสุดท้ายของเมือง Bukhara ที่มีชื่อว่า Nasrullah Khan มีอะไรให้ดูเยอะดีเหมือนกันแฮะ ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม งานศิลปะ งานสิ่งทอ วัตถุโบราณ 

3 วันที่เมือง Bukhara เราว่าเป็นเมืองที่สวยมาก เราชอบถ่ายรูปสถานที่ท่องเที่ยว ที่มีคนอยู่ในภาพ เวลามองดูมันมีเรื่องราวในแต่ละช่วงเวลานั้นจริงๆ บางจังหวะเราอาจต้องรอนานหน่อย แต่สิ่งที่ได้มันคุ้มมากๆเลยนะ.

72376668_2439464009645199_6136237827542745088_o72088187_2439464076311859_3255576998390530048_o72691669_2439464206311846_9028232727496753152_o72860751_2439464816311785_8450957378811068416_o72854378_2439465679645032_8557129618908250112_o72116428_2439465606311706_4779392340873707520_o72695156_2439465246311742_5740526594888302592_o72196566_2439465202978413_8965305838793129984_o72203794_2439464049645195_1122050624007962624_o

71848697_2439464592978474_5186030661818908672_o72048092_2439464296311837_8286391128429690880_o71895001_2439464336311833_6395570323697172480_o

Po-i-Kalyan & Mir-i-Arab Madrasa

เส้นทางสายไหมเป็นเส้นทางเชื่อมต่อการค้า วัฒนธรรม ของตะวันออกและตะวันตก และด้วยความเจริญรุ่งเรืองทำให้เกิดการสร้างศาสนสถานต่าง ๆมากมายและ สุเหล่า กันยา (Kalyan) ก็เป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่แสดงได้ถึงความรุ่งเรืองเมื่อหลายพันปีก่อน และปัจจะบันก็ยังได้รับการปรับปรุงและเก็บรักษาได้เป็นอย่างดี ด้านในจะประกอบด้วยห้องต่าง ๆไว้สำหรับสอนศาสนา โดมประดับประดาด้วยเซรามิกอย่างงดงาม ถ้าใครชอบในแนวทางนี้ผมแนะนำอย่าพลาดเส้นทางนี้ เมือง บูคาร่า (Bukhara)

T2T3T4IMG_7264IMG_7289IMG_7278IMG_7292

Ark of Bukhara

ป้อมปราการ Ark of Bukhara (Walls of the Ark) เป็นป้อมปราการขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเมือง Bukhara ประเทศอุซเบกิสถาน

94889703_2617747548483510_8278616451644915712_oT1

Bolo Haouz Mosque

มัสยิดเก่าแก่ เสา 40 ต้น Bolo haouz mosque แห่งนี้เลยเป็นสุเหร่าที่โดดเด่นที่สุดในเมืองแห่งนี้ และยังถูกจารึกไว้ในรายการมรดกโลกขององค์การยูเนสโกอีกด้วย

95303718_2617741835150748_4416410477001703424_o94613735_2617742005150731_5771829673751216128_o94713899_2617741995150732_354068286314381312_o94906153_2617741948484070_3951188024749981696_o96418470_2630949503829981_5722355335583236096_o

Chor Minor Madrasa

Chor Minor Madrasa เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งนึงใน Bukhara ตัวเสาทั้งสี่เสามีการตกแต่ง การวาดลวดลายที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีความหมายไปในทางพิธีกรรม

83062918_10206801073422166_2280686110155735040_oIMG_7694EGm_MCgU0AA3cDG72976198_2438293103095623_1195897428406960128_o

Madrasa Mirzo Ulughbeg

IMG_7166IMG_7334IMG_7217IMG_7214IMG_7230IMG_7247IMG_7199IMG_7233IMG_7239

71869281_2438626543062279_7964127736367153152_oตกเย็นเราก็หาร้านอาหารที่มีวิวสวยๆ เพื่อถ่ายภาพกลางคืนกัน ใครมาเมืองนี้แลัวอยากแวะขึ้นมาชมวิวบนร้านนี้แนะนำเลยครับ กับร้าน Minor Cafe House

Kalyan Minaret

Po-i-Kalyan เป็นจัตุรัสหลักของเมืองเก่า Bukhara ทางซ้ายคือ Mir-i-Arab Madrassah ตรงกลางคือ Kalyan Minaret ที่ซึ่งเป็นหอคอยที่เอาไว้ประกาศเวลาละหมาดให้แก่ชาวเมือง ซึ่งมี 5 เวลา และทางด้านขวาเป็น Kalan Mosque

TF-15

Uzbek National Souvenirs & Antiques

ของที่ระลึกที่นี่ก็จะไม่พ้นสินค้าพวกผ้าและพรม ที่มีสีสันและลวดลายสวยงาม เนื้อผ้านุ่มสบายมากๆ รองลงมาก็จะเป็นเครื่องชาม และของสะสมโบราณในช่วงโซเวียต
123

Made in Tashkent !

บางครั้งการมาต่างถิ่นแลัวเราอยากทำอะไร อยากกินอะไร การถามเจ้าถิ่นน่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด การเลือกไอศครีมก็เช่นกัน ไปยืนดูหน้าตู้แช่ตั้งนาน คืออยากได้อะไรที่ในไทยไม่มี ก็เลยถามคนขายว่า คุณแนะนำอันไหน ชอบกินอะไร ? คนขายก็ยิ้มด้วยความภูมิใจแลัวเปิดตู้และหยิบเจ้านี้มาให้พร้อมบอกว่า อันนี้เลย รสนม ผลิตที่เมืองหลวงทาชเคนต์ ของอุซเบ เราก็ไม่ลังเลเลย หยิบมาละจ่ายเงินเลย เปิดกินตรงนั้นเลย เออ! อร่อยจริงด้วย หอมรสนม นมสด รสเนียนมาก ให้มาเกือบเต็มไม้ด้วย มีที่เอามือจับนิดเดียวเอง มีความประทับใจ และอีกสิ่งที่ชอบก็คือดีไซน์ของซองไอศครีม ไม่รู้จะอธิบายยังไงดี มันดูเป็นกลิ่นอายของงานออกแบบสไตล์โซเวียตดี ดูจากตัวอักษร สี และรูปหน้าเด็ก ก็แปลกดีนะ 😂

72046008_2438778446380422_2385375465549332480_o

Bukhara – Khiva

มาขึ้นรถไฟตู้นอนตอนตี ใช้เวลาในการเดินทางไปยังเมือง Khiva ประมาณ ชั่วโมง จองที่นอนแบบ Compartment Class ไว้ ผมได้ห้องที่เป็นวัยรุ่นทั้งห้อง นอนกรนกันทั้งนั้นเลย 

72246441_2440011586257108_3993387293908926464_o72098681_2440011629590437_7526163813750538240_o72191091_2440011666257100_6310683460482629632_oEGsbxafUUAIavYVบรรยากาศตู้นอนยามเช้านั่งสบายและชิลๆมากเลยแหละ

Just arrived! Khiva

มาถึงเมือง Khiva แลัวว เราอยู่ที่นี่กัน คืนแลัวนั่ง Night Train ยาวกลับไปเมืองหลวง Tashkent เลย

72163054_2440295572895376_2352769186234630144_o.jpg

วันแรกของที่นี่ก่อนเข้าที่พักเลยไปหามื้อเที่ยงกินกัน ร้านชื่อ Khiv Mood เห็นคะแนนใน Tripadvisor เยอะดีเลยลองเมนูท้องถิ่นที่นี่คือ Shivit Oshi กับ Tuhum Barak ก็อร่อย แปลกๆดี ไว้เดวเย็นๆไปเดินเล่นรอบเมือง

72775265_2440295622895371_8956624743520272384_o.jpg

72325014_2440295742895359_6666562178591490048_o72480662_2440295859562014_4248746747746058240_o72088734_2440295806228686_6613554843275493376_o

Khiva เขตเมืองเก่าที่มีสถานที่น่าสนใจหลายจุดไม่ว่าจะเป็น Kalta-minor Minaret หรือ Islam Khodja Madrasa เป็นหอคอยที่สามารถขึ้นไปชมเมืองเก่า Khiva ได้ทั่วเลย ภายในบริเวณเมืองเก่าก็จะมีคาเฟ่ มีร้านขายของเต็มไปหมด ดังนั้นถ้าใครอยากหาคาเฟ่ที่มีชั้นดาดฟ้า ที่นี่ก็มีให้เลือกเยอะมาก แต่ละจุดก็จะเห็นความสวยงามของเมืองแตกต่างกันออกไป เลือกได้ตามใจชอบเลยครับ

IMG_7872IMG_7907IMG_7869TF-28TF-27IMG_7941EG1U989U4AAxoYPEG1U987UwAA3ckWIMG_824082276428_10206801075422216_8905066143622889472_o

Raks Sekhri ✨

เป็นชุดการแสดงเต้นระบำพื้นบ้านที่เมือง Khiva ชอบดีเทลของชุดมาก เห็นเขาแสดงบนเวทีเสร็จ เห็นคนขอเข้าไปถ่ายเยอะ เลยขอถ่ายบ้าง

72257055_10206438221191087_3248333647714975744_o72634244_10206438221911105_2396616241071521792_o72409204_10206438221471094_7899945931234082816_o

Аncient Fortresses of Khorezm

Khiva เป็นเมืองทะเลทราย ช่วงเย็นเลยเหมารถออกนอกเมืองเพื่อเดินขึ้นเขา ชมป้อมที่ใหญ่ที่สุดของทะเลทรายแห่งนี้จากบนเขาข้างๆป้อมซะหน่อย ตอนขึ้นไปถึงบนเขา ลมแรงมาก เดินตัวจะปลิว ทรายเข้าปากเข้าตาหมด แต่ก็สนุกดีนะ 55

มาถึงฟ้าก็หม่นแลัว กับ Khorezm Fortress เป็นทะเลทรายแห่งที่สองที่ได้มาเที่ยว ที่แรกเป็น Dasht-e Lut ที่อิหร่าน ก็แปลกตาดีเหมือนเดิม

73006786_2441429252782008_8420997121473249280_o

ช่วงนี้ติดใจไอศครีมของที่นี่มาก ต้องรสนมสด เท่านั้น อร่อยทุกยี่ห้อเลย เพิ่งสังเกตว่าไอศครีมของประเทศนี้จะมีความเหนียวหนึบ ไม่ละลายง่าย น่าจะเพราะใส่เจลลาตินเยอะ 

72425593_2442159436042323_8313662796369756160_o.jpg

Khiva – Tashkent

ใกล้จะจบทริปแลัว เมืองสุดท้ายที่เราจะไปคือเมืองหลวง Tashkent ระยะเวลาในการเดินทางโดยรถไฟคือประมาณ 10 ชั่วโมง นี่ก็เตรียมเสบียงมาพร้อมมาก กันอดอยากบนรถไฟ 5555

72141900_2442176309373969_769858645696446464_o.jpg

72632764_2442176349373965_2423061029022859264_o.jpg

” Something lost .. “

บนเส้นทางสายไหมระหว่าง Khiva – Tashkent สาวรัสเซียที่เจอกันบนรถไฟตู้นอนทำบางอย่างหายระหว่างทาง

การเจอเพื่อนต่างชาติในระหว่างทางเป็นเรื่องที่ปกติมาก ส่วนใหญ่จะเป็นแนว ทำความรู้จักกัน เฮฮาคุยเล่นกันทั่วไป รู้สึกสนิทหรือถูกใจกันหน่อยก็จอยทริปกันในวันนั้น แต่กับบางคนในครั้งนี้กลับต่างออกไป

สาวรัสเซียที่มาเป็นล่ามให้กับนายสถานีที่วิ่งทั่วรถไฟเพื่อหาคนที่พูดภาษาอังกฤษได้มาให้ช่วยอธิบายกฏการใช้รถไฟให้พวกเราฟัง (คิดว่าอะไรซะอีก ทำใจหายเธอก็มาฟังนายสถานนีแลัวอธิบายให้พวกเราฟัง ตอนนั้นเราอยู่บนที่นอนชั้นสอง มีจังหวะนีงที่เขาหันมาสบตาหนึ่งครั้ง จนอธิบายจบเธอก็ขอตัวกลับตู้นอนของเธอ แว๊บแรกที่สบตา เอ่อ ก็น่ารักดีนิ ใจดีจัง มารู้อีกทีเธออยู่ห้องตู้นอนข้างกันนี่เองก็ตอนที่ออกจากห้องไปยืนตรงโถงเพื่อถ่ายรูปวิวบรรยากาศข้างนอกรถไฟตอนพระอาทิตย์กำลังตกดิน แลัวสาวรัสเซียก็ออกมาดูวิวข้างทางด้วยพอดี และเดินตรงมายืนข้างๆ มาทักทายเรา

การพูดคุยก็ได้เริ่มต้นขึ้น เป็นการทักทายทั่วไปไม่มีอะไรมาก อย่าง ชื่ออะไรหรอ เป็นคนที่ไหน อายุเท่าไหร่ และเดินทางคนเดียวไม่เหงาหรอ เค้าก็ตอบด้วยสำเนียงรัสเซีย ที่อาจจะฟังยากหน่อย (ซึ่งเค้าก็น่าฟังสำเนียงไทยเรายากเช่นกัน 555) เวลาที่คุยกันก็รู้สึกถึงความกังวล หรือเซงๆอะไรบางอย่างของเค้า กับสังเกตการแต่งตัวก็ไม่เหมือนมาเที่ยวสักเท่าไหร่ เค้าหาเรื่องชวนคุยเยอะนะ จนบางทีก็รับรู้ได้ว่าเค้าคงหาเพื่อนคุย เพราะเพื่อนร่วมตู้นอนเค้าเป็นคนสูงอายุชาวอุซเบทั้งตู้เลย คงไม่รู้จะคุยกับใคร มีคำถามนึงโผ่งขึ้นมา เค้าถามเราว่า อุซเบกิสถานสำหรับคุณเป็นไงบ้าง .. ชอบรึเปล่า ?” เราเลยตอบว่า นี่แค่วันที่ เอง ยังตอบไม่ได้หรอก .. แลัวคุณหละ สาวรัสเซียทำหน้าเบื่อโลกทันทีเมื่อโดนถามกลับ เธอทำท่าครุ่นคิด แลัวตอบแค่ว่า ฉันเดินทางคนเดียวที่อุชเบ อาทิตย์ แต่รู้สึกมีบางสิ่งที่มันหายไปน่ะ ฉันไม่รู้ว่าจะอธิบายยังไง ขอโทษนะ” พูดจบเค้าก็ขอตัวเดินกลับไปที่ห้องของเค้า ปล่อยเรางงไปชั่วขณะ ว่าแบบ เราถามอะไรผิดรึเปล่า นี่ก็เลยเข้าไปหาไรกินที่ห้องบ้าง แต่ก็แอบรู้สึกเป็นห่วงปนสงสัยอยู่เหมือนกัน

ปกติเราไม่ค่อยเจอเพื่อนร่วมทางแบบนี้เท่าไหร่หรอก แต่เราก็มีนิสัยเสียอย่างนึงคือ แคร์ความรู้สึกทุกคน(แต่กับตัวเองไม่เลยก็เลยวิตกกังวล คิดอะไรแทนคนอื่นไปหมด ระหว่างนั้นก็นั่งๆนอนๆ เล่นมือถือเล่นอะไรไปเรื่อยเปื่อย ผ่านไป ชั่วโมง รู้สึกอยากเข้าห้องน้ำ ก็เลยออกไปโถงทางเดินเพื่อไปยังห้องน้ำกลายเป็นว่าเจอเค้ากำลังเดินสวนมาพอดีก็เลยได้มีโอกาสถาม เฮ้ คุณโอเครึเปล่าน่ะ?” สาวรัสเซีย ยิ้มปนเศร้ามาแต่ไกลละตอบว่า ” อื้มม.. ห้องน้ำมันไม่ค่อยดีเท่าไหร่น่ะ” (ไม่ได้ถามถึงเรื่องห้องน้ำโว้ยย จะถามถึงเรื่องตอนเย็นที่คุยกันพูดเสร็จเค้าก็ตรงเข้าห้องนอนเลย มาเห็นอีกครั้งก็ตอนก่อนเข้าห้องหลังเข้าน้ำห้องน้ำเสร็จ สาวรัสเซียคนเดิมนั่งอยู่ที่ปลายเตียงริมประตูทางเดิน เอาเข่าชันขึ้นมา มือก็เอามาจับหัวข้างนึง ไม่พูดไม่พูดจา สายตาเหม่อมองพื้น น่าจะเป็นสภาพคนที่เหงาที่สุดเท่าที่เราเคยเห็นมาเลยก็ได้มั่ง ตอนนั้นเราก็ไม่อยากทักอะไรแลัว ก็เลยเข้ามานอนต่อเพราะเวลานั้นก็ดึกมากสำหรับเราบางอย่างก็คงต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของเค้าไป ถ้าเราไปยุ่งมากก็คงไม่ดี ทุกคนคงมีวิธีแก้ของตัวเอง ก็ได้แต่เอาใจช่วยห่างๆ พรุ่งนี่เค้าอาจจะดีขึ้นก็ได้(มั่ง)

72927011_10206449783200130_7542269228145967104_o.jpg

ตื่นขึ้นมาตอนเวลา 7โมงเช้า รถไฟกำลังจะเข้าสถานนีที่เมืองหลวง Tashkent เราก็ลุกขึ้นมาเก็บของ เตรียมลงรถไฟ แล้วจะแวะตู้ข้างๆไปทักทาย บอกลากันซะหน่อย แต่พอเดินไปที่ตู้ ก็ไม่เจอสาวรัสเซียคนนั้นแลัว..

EG2z1tJU4AEjXed.jpeg

เช้าวันแรกที่เมือง Tashkent เราก็มายังใจกลางจตุรัสของเมืองหลวงกัน เพื่อมาชม Skver Im. Amira Temura และโรงแรม Hotel Uzbekistan บริเวณรอบๆจตุรัสจะเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ และมหาวิทยาลัย เป็นบริเวณที่มีความเจริญมากๆ สามรถเดินชมได้ทั่วเลยครับ

121142

เจอกันอีกแลัวนะ !! ยูริเอะ(Yurie) สาวญี่ปุ่น ที่เดินทางมาเที่ยวคนเดียว ผมเจอเธอครั้งแรกบนรถไฟระหว่างเส้นทาง Bukhara ไป Khiva เราได้อยู่ตู้นอนเดียวกันและกับคุณลุงชาวอุซเบอีกสองคน เราเลยได้คุยกันในตอนเช้า มารู้ว่าเราอายุเท่ากัน และคุยกันสนุกมาก เสียดายไม่ได้ถ่ายรูปด้วยกันบนรถไฟเพราะยูริเอะต้องรีบลงสถานนีรถไฟเมือง Urgench ซะก่อน แต่ตอนมาเดินที่จตุรัส Tashkent ก่อนกลับไทยก็ได้เจอกันอีกครั้ง มันเป็นเหตุการณ์ที่บังเอิญและก็รู้สึกดีใจมาก เลยต้องขอถ่ายรูปด้วยกันซะหน่อย และหวังว่าจะได้เจอกันอีกนะ ! ^^

94570105_2617673315157600_8968140555863195648_o

Chorsu Bazaar

เป็นตลาดนัดแบบดั้งเดิมตั้งที่อยู่ในใจกลางเมืองเก่าของ Tashkent เมืองหลวงของอุซเบกิสถาน ภายใต้อาคารทรงโดมสีน้ำเงินและพื้นที่ใกล้เคียงขายใช้ประจำวัน เป็นอีกที่ที่ต้องมาให้ได้ สิ่งที่สามารถชื้อกลับบ้านได้ส่วนใหญ่จะเป็นพวก ถั่ว ธัญพืช ผลไม้แห้ง และจาน แก้ว ถ้วย 

82208321_10206801078622296_8501456672269533184_o98

Lost in Uzbekistan Metro

วันสุดท้ายที่ Tashkent เลยมาเก็บสต็อกของที่นี่บ้าง เห็นแลัวคิดถึงของรัสเซียเลย ใช้เวลาเก็บภาพประมาณ 3 ชั่วโมง ตระเวนนั่งไปมาหลายสถานี ถ่ายสนุกเลย มีอะไรให้ดูเยอะดี ซึ่งตอนนี้เค้าปล่อยอิสระให้ถ่ายรูปเล่นได้แลัว ถ้าเมื่อก่อนนี่ห้ามเลย (แต่ตำรวจก็ยังคงมายืนคอยมองอยู่) สิ่งที่ยังคงปล่อยไว้ให้เห็นคือ ประตูเหล็กหนาชั้นล่างสุดของสถานีที่เอาไว้กัน Nuclear Weapon ในสมัยโซเวียด ก็เป็นกิจกรรมที่ยังคงน่าสนใจนะครับ ในแต่ละสถานนีเค้าออกแบบและสร้างตามสถานที่ที่มีเรื่องราวต่างกันออกไป ดูไม่เบื่อเลย

TF-49TF-43TF-44TF-45TF-46TF-47TF-4872467666_2443324349259165_3250598478459437056_n.jpg

จบทริป Uzbekistan เป็นที่เรียบร้อย เป็นประเทศที่ไม่หวือหวามาก แต่ก็ได้ความทรงจำ ประสบการณ์อะไรกลับมาเยอะเหมือนเดิม สถานที่สวยบ้านเมืองสะอาด อากาศดี อาหารอร่อย(แต่มีให้เลือกไม่มากผู้คนเป็นมิตรสุดๆ เพื่อนต่างชาติระหว่างทางที่เจอก็มีหลากหลายรูปแบบ บางคนก็เข้ามาสร้างสีสัน บางคนก็ทำให้เป็นห่วงซะงั้น ตลกดี ?

เป็นทริปที่ช่วยฮีลใจได้มาก เรียกว่า ทริปพักใจ ก็น่าจะเหมาะ เพราะไม่ได้เที่ยวอะไรแบบนี้มาน่าจะ ปีแลัว ช่วงเวลาที่ห่างหายจากเที่ยวไปก็ทำแต่งานกับมีหาอะไรใหม่ๆให้ลองผิดลองถูกทำอยู่เรื่อยๆ ความสมหวัง ผิดหวัง ความกังวลใจ การโดนเข้าใจผิด โดนดูถูก มีเกิดขึ้นตลอด เราไม่สามารถควบคุมอะไรได้เลย เป็นช่วงชีวิตที่มีครบทุกอารมณ์เกิดขึ้นจริงๆ เจอคนหลายรูปแบบมากขึ้น มันก็วุ่นวายแหละ นิสัยคนก็แตกต่างกันออกไป แต่เราก็ปรับตัวอยู่เสมอนะ มันไม่ใช่สิ่งที่ เริ่มที่เรา จบที่เรา แบบแต่ก่อนแลัว อะไรหลายอย่างก็ขึ้นกับคนอื่นด้วย ก็ต้องปรับความเข้าใจ ใส่ใจกันและกันต่อไป

หลังจากนี้น่าจะมีทริปใหม่เข้ามาเรื่อยๆ(มั่งเพราะการกลับมาเที่ยวครั้งนี้ รู้สึกไฟในตัวเริ่มกลับมาจุดติดอีกครั้งแลัว ต้องติดตามตอนต่อไปครับ

72392212_2444081132516820_190212956099706880_o (1).jpg

 

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s